วันพยาบาลแห่งชาติ
วันพยาบาลแห่งชาติ 21 ตุลาคม
วันที่ 21 ตุลาคม เป็น วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาล และตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา และด้วยพระวิริยะอุตสาหะ นำสิริสุขแก่ปวงชนทุกก้าวพระบาทที่เสด็จไปถึง สมควรเป็นแบบอย่างแก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ให้ตระหนักในภารกิจของวิชาชีพแห่งตนว่าเป็นงานบริการสุขภาพที่มีความสำคัญ และมีคุณค่าแก่สังคม ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวแล้วนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี ให้วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็น วันพยาบาลแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2533 เป็นต้นมา
สมเด็จย่า” พระมิ่งขวัญพยาบาลทั่วไทย
ด้วยพระอุปนิสัยของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีพระเมตตา เอื้ออาทรอยู่เป็นนิจ ทรงสุภาพอ่อนโยน การที่ทรงเลือกศึกษาด้านวิชาชีพการพยาบาลนี้ จึงนับว่าถูกกับพระอุปนิสัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมราชชนก ด้านการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข มาโดยตลอด จึงโปรดเกล้าให้แพทย์และพยาบาลที่ตามเสด็จ ตรวจรักษาชาวบ้าน และตำรวจตระเวน ชายแดนทุกครั้งที่เสด็จเยี่ยมประชาชนในท้องที่ห่างไกล ทรงจัดตั้ง หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือชื่อย่อว่า “พอ.สว.” ขึ้นเพื่อปฏิบัติงานร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อดูแลรักษาประชาชนในหมู่บ้านห่างไกล นอกจากนี้ยังพระราช ทานทุนการศึกษาส่งเสริมนักศึกษาพยาบาลให้ได้รับการศึกษาต่อไปด้วย
การจัดงานวันพยาบาลแห่งชาติ ได้จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 21 ตุลาคม 2533 โดย สภาการพยาบาล ร่วมกับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ฯ ในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศไทยทุกคน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี การจัดงานวันพยาบาลแห่งชาติในครั้งนั้น สภาการพยาบาลได้จัดทำกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย การจัดเดินเทิดพระเกียรติ การให้บริการตรวจสุขภาพ และให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่ประชาชน การประชุมวิชาการ และพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้ได้รับรางวัลพยาบาลดีเด่นในสาขาต่างๆ และได้จัดงานประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัลพยาบาลดีเด่น เป็นประจำต่อเนื่องกันมาทุกปี จนถึงปัจจุบัน และยังได้กำหนดให้ใช้ ” ดอกปีบ ” เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2534 เป็นต้นมา เนื่องจาก ” ดอกปีบ ” เป็นดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม ต้นปีบเป็นไม้ยืนต้น ขึ้นได้ในที่ดินแห้งแล้ง ราก ลำต้น และดอกใช้เป็นสมุนไพรได้ เปรียบกับพยาบาลในชุด สีขาวผู้พร้อมที่จะประกอบคุณงามความดี ประดุจกลิ่นหอมของดอกปีบ และพร้อมที่สร้างประโยชน์เช่นเดียวกับการเป็นสมุนไพรของ ” ดอกปีบ ” นั่นเอง
การจัดงานวันพยาบาลแต่ละปีจะมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ คือ
1. เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อวิชาชีพการพยาบาล
2. เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้ตระหนักและสำนึกในหน้าที่เยี่ยงพระกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติเสมอมา
3. เพื่อเป็นการเดินตามรอยพระบาทในการสร้างสรรค์สุขภาพดีถ้วนหน้าให้แก่ประชาชน
4. เพื่อเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของพยาบาลทั่วประเทศ
การจัดกิจกรรมวันพยาบาลแห่งชาติของทุกปี ได้รับความร่วมมือและความสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากสมาชิกพยาบาลและผดุงครรภ์ทั่วประเทศ เนื่องเพราะพยาบาลทุกคนต่างร่วมกันตั้งปณิธานที่จะปฏิบัติภารกิจตามรอยเบื้องพระยุคลบาทตลอดไปสมกับคำขวัญ วันพยาบาลแห่งชาติที่ว่า
” การพยาบาลก้าวไกล เพราะน้ำใจเหล่าพยาบาล
เสียสละและบริการ ตามปณิธานสมเด็จพระบรมราชชนนี “
วัตถุประสงค์หลักการจัดงานวันพยาบาลแห่งชาติ
1. เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อวิชาชีพการพยาบาล
2. เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้ตระหนักและสำนึกในหน้าที่ เยี่ยงพระกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติเสมอมา
3. เพื่อเป็นการเดินตามรอยพระบาทในการสร้างสรรค์สุขภาพดีถ้วนหน้าให้แก่ประชาชน
4. เพื่อเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของพยาบาลทั่วประเทศ
สัญลักษณ์พยาบาลไทย
สภาการพยาบาลได้กำหนดให้ใช้ ” ดอกปีบ ” เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2534 เป็นต้นมา เนื่องจาก ” ดอกปีบ ” เป็นดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม ต้นปีบเป็นไม้ยืนต้น ขึ้นได้ในที่ดินแห้งแล้ง ราก ลำต้น และดอกใช้เป็นสมุนไพรได้ เปรียบกับพยาบาลในชุดสีขาวผู้พร้อมที่จะประกอบคุณงามความดี ประดุจกลิ่นหอมของดอกปีบ และพร้อมที่สร้างประโยชน์เช่นเดียวกับการเป็นสมุนไพรของ ” ดอกปีบ ” นั่นเอง
ข้อมูล tnc.or.th
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.