วันไหว้พระจันทร์
“เทศกาลไหว้พระจันทร์” เป็นเทศกาลดี ที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนาน เรื่องดวงจันทร์ของชาวจีนอย่างแนบแน่น เช่นเรื่อง “ฉังเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์” ถือว่าเป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงมาก เป็น การไหว้ครั้งที่ 6 ของปี เรียกการไหว้ครั้งนี้ว่า “ตงชิวโจ่ย” ถือเป็นวันสารทวันหนึ่งของชาวจีน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ ในวันกลางฤดูใบไม้ร่วง ตรง กับวันที่ 15 เดือน 8 ของจีน
เมื่อคำนวณตามจันทรคติแบบจีนแต่จะตรงกับจันทรคติแบบไทย คือเดือน 10 (ประมาณเดือนกันยายน) ชาวจีนหรือคนไทยเชื้อสายจีนในเมืองไทย จะทำพิธีเซ่นไหว้ทั้งพระจันทร์ และเจ้าแม่กวนอิม การไหว้พระจันทร์ของคนจีนเป็นที่รู้จักกันดีกว่าเทศกาลไหว้อื่นๆ เพราะมีเรื่องราวที่น่าสนใจ และมีของไหว้ที่เป็นแบบเฉพาะ เช่นมีขนมไหว้พระจันทร์ มีต้นอ้อย โคมไฟ เทศกาลนี้เป็นอุบายในการปลดแอกชาติจีน ออกจากการปกครองของพวกมองโกล
ในคืนวันไหว้พระจันทร์ ดวงจันทร์สว่างและกลม ถือว่าสวยที่สุด ผู้คนถือว่าดวงจันทร์ที่กลมเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความสามัคคี ดังนั้นจึงเรียกเทศกาลนี้ว่า ” เทศกาลแห่งความกลมเกลียว ”
เรื่องราวเล่าขานกันว่า ในสมัยโบราณมีอยู่ช่วงหนึ่ง อยู่ๆ ก็ปรากฏพระอาทิตย์บนท้องฟ้า มากถึง 10 ดวง แผดเผาจนแผ่นดินแห้งแล้งไปหมด ทะเลเหือดแห้ง ทุกหัวระแหงลุก เป็นควันไฟ ชาวบ้านต่างสิ้นหวังที่จะมีชีวิตอยู่รอดไปได้ เรื่องราวทุกข์ร้อนของชาว บ้านนี้ได้ยินถึงหูของผู้กล้านาม โฮ่วยี่ 后羿 เขาจึงอยู่เฉยไม่ได้ ได้ขึ้นไปบนยอด เขาคุนหลุน ใช้พละกำลังสุดฤทธิ์ดึงเกาทัณฑ์ยิงพระอาทิตย์ดับไป 9 ดวง วีรกรรม ครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านรอดพ้นจากความตาย จึงได้รับการเคารพ รักใคร่จากชาวบ้าน และผู้กล้าต่าง ๆ ในแผ่นดินต่างเดินทางมาเพื่อขอเป็นลูกศิษย์ฝึกวิทยายุทธ ซึ่งใน เหล่าผู้เกล้าเหล่านี้มีผู้จิตใจคิดชั่วนายเผิงเหมิง 蓬蒙รวมอยู่ด้วย
หลังจากนั้น โฮ่วยี่ได้แต่งงานกับสาวงามที่มีจิตใจอ่อนโยน มีความเมตตาชื่อฉางเอ๋อ 嫦娥ชีวิตของทั้งคู่จึงเป็นคู่กิ่งทองใบหยกที่ชาวบ้านต่างยินดีชมชอบกัน วันหนึ่ง โฮ่วยี่ได้ขึ้นไปยอดเขาคุนหลุนเพื่อเยี่ยมมิตรสหายและศึกษาธรรม ในระหว่างทางบังเอิญได้พบกับฮองเฮาแห่งสวรรค์ โฮ่วยี่จึงได้กราบของยาอายุวัฒนะ ซึ่ง กล่าวกันว่าเมื่อกินเข้าไปแล้วจึงสามารถเหาะเหินขึ้นสวรรค์กลายเป็นเซียนทันที
โฮ่วยี่ได้ยามาแล้ว แต่ก็อาลัยอาวรณ์ฉางเอ๋อ จึงไม่อยากทิ้งนางไว้คนเดียว จึงได้แต่มอบยาดังกล่าวให้ฉางเอ๋อเก็บรักษาไว้ในลิ้นชักโต๊ะเครื่องแป้ง แต่ก็ไม่คลาดสายตาของเผิงเหมิงผู้ซึ่งรู้เรื่องราวดังกล่าวด้วย
หลังจากนั้นสามวัน โฮ่วยี่ได้พาเหล่าลูกศิษย์ออกไปล่าสัตว์ แต่เผิงเหมิงแกล้งป่วย จึงทำเป็นนอนรักษาอยู่ในบ้าน เมื่อได้โอกาส เผิงเหมิงจึงควงกระบี่ขู่บังคับให้ฉางเอ๋อ มอบยาให้เขา ฉางเอ๋อรู้ว่าตนไม่ใช่คู่ต่อสู้ของเผิงเหมิง จึงหยิบยาออกมา แต่ฉวยจังหวะในเสี้ยววินาทีเอายาเข้าปากกลืมจนหมดสิ้น จากนั้นร่างของฉางเอ๋อก็ลอยเหนือพื้นดิน และเหาะออกหน้าต่าง เหินฟ้าสู่สวรรค์ไป แต่เนื่องจากยังเป็นห่วงสามี จึงเหาะไปเป็นเซียนในโลกพระจันทร์ เนื่องจากอยู่ใกล้โลกมนุษย์มากที่สุด
ค่ำคืนนั้น เมื่อโฮ่วยี่กลับจากการล่าสัตว์ สาวใช้ร้องห่มร้องไห้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อตอนกลางวันให้ฟัง โฮ่วยี่ทั้งเจ็บแค้นทั้งโศกเศร้า แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากเผิงเหมิงหนีไปไกลแล้ว ก็ได้แต่นั่งร้องไห้พร้อมกับเงยหน้าตระโกนเรียกชื่อภรรยาตัวเอง ทันใดนั้น เขาก็สังเกตเห็นพระจันทร์ในคืนนี้มันสดสกาวและสว่างกว่าทุกคืนที่ผ่านๆ มา และยังสังเกตเห็นเงาเคลื่อนไหวในพระจันทร์ซึ่งดูเหมือนรูปร่างของฉางเอ๋อ
เมื่อชาวบ้านได้ยินเรื่องราวของฉางเอ๋อกลายเป็นเซียนบนพระจันทร์ ต่างก็จัดขนม เซ่นไหว้พร้อมจุดธูปกราบไหว้ขอพรจากฉางเอ๋อผู้ซึ่งมีความเมตตาให้คุ้มครองชีวิตมี ความสงบสุข จึงเป็นจุดเริ่มต้นของตำนานเทศกาลไหว้พระจันทร์ตั้งแต่นั้นมาจะเห็นว่า ตำนานของฉางเอ๋อข้างต้นนั้น เมื่อเทียบกับตำนานฉบับดั้งเดิมมันช่างแตก ต่างกันเหลือเกิน ตำนานข้างต้นได้ผ่านการปรุงแต่ง เติมสีสัน ให้เรื่องราวของฉาง เอ๋อเป็นเรื่องสวยงาม เพื่อให้เข้ากับความงามของแสงจันทร์ในค่ำคืนนั้น และให้เหมาะกับทัศนะคติของผู้รับสื่อในยุคนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม เรื่องราวจะเป็นอย่างไรคง ไม่สำคัญเท่ากับจิตวิญญาณของเทศกาลมากไปกว่าใช้เทศกาลเพื่อการค้าค้าขาย ขนมไหว้พระจันทร์ เหมือนอย่างเทศกาลของฝรั่งอย่าง ฮาโลวีน หรือวาเลนไทน์ เป็นต้น
ความจริงชาวจีนมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระจันทร์มาแต่โบราณกาล ยิ่งกว่าพระอาทิตย์ การนับปฏิบทินก็นับโดยอาศัยดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ ดังที่เรียกว่า จันทรคติ การเพาะปลูก และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ชาวจีนโบราณจะอาศัยดูจากดวงจันทร์ เพื่อให้เหมาะสมในการทำนาทำไร่ ซึ่งต้องอาศัยเป็นหลักรวมความว่า ชาวจีนแต่โบราณให้ความสำคัญทางด้านจิตใจต่อดวงจันทร์มาก ในเรื่องต่างๆดังนี้
1. การทำนา-ไร่
2. การเพาะปลูกพืชต่าง ๆ
3. การเจริญเติบโตของพืช
4. การเพาะชำพืช
5. การดูปริมาณน้ำขึ้น-น้ำลง
ดังนั้น จึงมองเห็นว่าดวงจันทร์มีคุณต่อมนุษยชาติมาก ทั้งมีแสงสว่างร่มเย็น สบายตา น่าสดชื่นรื่นรมย์เป็นอย่างมาก อากาศกำลังดี ไม่ร้อนไม่หนาว
เทพองค์หนึ่ง คือ “ทู่ เอ๋อร์ เย๋” (兔儿爷) ซึ่งแปลว่า “เทพกระต่าย” ซึ่งเทพองค์นี้มาจากเทพนิยาย “กระต่ายหยกในตำหนักจันทร์” ของจีน คนจีนนำดินมาปั้นเป็นรูปกระต่าย จัดเป็นเครื่องเซ่นไหว้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์และเป็นของเล่นเด็กที่มีมาแต่โบราณกาล
วันทำพิธีเซ่นไหว้ จะเริ่มจัดแต่งโต๊ะวางข้าวของบริเวณกลางแจ้ง ที่พอจะมองเห็นดวงจันทร์ได้เต็มดวง และวันนั้นก็คือเย็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (ของจีน ซึ่งตรงกับเดือน 10 ของไทย) เจ้าภาพจะนำเอาต้นอ้อย 2 ต้นมาซุ้มประตู โดยเอายอดอ้อยทั้งสองโค้งเข้าหากัน แล้วมีการประดับประดาให้ดูสวย ๆ งาม ๆ ตามใจชอบ สิ่งของที่เซ่นไหว้ พอกะว่าแลเห็นพระจันทร์เต็มดวงโผล่ขึ้นมาให้เห็นแล้ว ก็จะเริ่มพิธีเซ่นไหว้ มีการจุดธูปและตามโคมไฟด้วย คืนนี้จะเป็นคืนที่ลูกหลานชาวจีนจะออกมาชมพระจันทร์แห่งฤดูใบไม้ร่วงกันถ้วนหน้า แต่ปัจจุบันตั้งแต่ฝรั่งต่างแดนได้ขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์แล้ว การเซ่นไหว้พระจันทร์ ที่เคยยึดมั่นถือมั่นมาแต่โบราณค่อยๆลดความสำคัญลงไปอย่างมาก
ขนมไหว้พระจันทร์
ขนมไหว้พระจันทร์ทำจากการนำแป้งหมี่กับน้ำมันหมูมานวดเข้ากัน คลึงเป็นแผ่นที่มีความหนาพอประมาณ จากนั้นห่อด้วยไส้ชนิดต่างๆ ไส้ที่สำหรับขนมไหว้พระจันทร์นั้น มีหลากหลายประเภท เช่น ขนมไหว้พระจันทร์นั้น โดยทั่วไปจะห่อด้วยซานจา กุหลาบ ครีมพุทราจีน วอลนัท อัลมอนล์ เม็ดแตง ถั่วบด เป็นต้น ไส้ขนมไหว้พร ะจันทร์ในเขตพื้นที่กวางตุ้ง ซึ่งเป็นภาคใต้ของจีน มักเป็นไข่แดง เม็ดบัว โหงวยิ้ง และเส้นมะพร้าว ส่วนไส้แบบซูโจว มักเป็นกุหลาบ ถั่วบด เม็ดพุทรา พริกกับเกลือ และอาจมรการเพิ่มเม็ดสนและวอลนัทเข้าไปด้วย เมื่อห่อไส้เรียบร้อย ก็จะนำไปบรรจุเข้าไปในเบ้าทรงกลมที่เตรียมไว้ในเบ้านั้นมักมีลวดลายหรือลายลักษณ์อักษร เช่น ” โจง ชิว เว่ ปิ่ง ” หรือชื่ออื่นๆ เมื่อผ่านการอบและบรรจุเรียบร้อยแล้ว ก็จะส่งเข้าตลาดต่อไป
ในประเทศไทยก็มีส่วนประกอบที่แตกต่างออกไป เช่น การรวมเอาทุเรียน ลูกเกาลัดและลูกพลับเข้าไว้ด้วย เครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามาก็อาจจะรวมเอาเมล็ดบัว ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโมด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า โดยปกติแล้วพิธีนี้จะให้สตรีเป็นผู้ทำเพราะว่าคนเชื่อกันว่าพระจันทร์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับเทพเจ้าสตรีเรื่อยมา ดังนั้น จึงมีการบูชาด้วยแป้งและเครื่องสำอางด้วยเพราะหวังว่าการทำเช่นนี้จะนำมาซึ่งความสวยงามและผิวงามแก่สมาชิกในครอบครัวที่เป็นจริงทั้งหมด ไม่ว่าความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหนก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อตามประเพณี และพิธีที่สืบทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานของชาวจีนแต่ประการใด
ขั้นตอนการไหว้พระจันทร์
1. ไหว้เจ้าในช่วงเช้า ของไหว้จัดปกติ เหมือนจัดของไหว้เจ้าปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมโก๋, ขนมเปี๊ยะ
2. ของไหว้บรรพบุรุษ ของไหว้จัดปกติ เหมือนจัดของไหว้บรรพบุรุษปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้อะไรก็ได้, ขนมโก๋ต่าง, ขนมเปี๊ยะต่างๆ แล้วแต่เลือก ผลไม้ไหว้พิเศษ ส้มโอผลใหญ่ๆ สวยๆ
3. ของไหว้เจ้าแม่ในตอนค่ำ
– ของคาว อาหารเจแห้ง 5 อย่าง คือ วุ้นเส้น, ดอกไม้จีน, เห็ดหูหนู, เห็ดหอม, ฟองเต้าหู้
– ขนมไหว้ ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้อะไรก็ได้ ที่ไม่มีไข่แดงเค็ม และ ต้องไม่ใช่ไส้โหงวยิ้ง หรือเมล็ด 5 อย่าง เพราะไส้โหงวยิ้ง มีใส่มันหมูแข็ง จึงเป็นของชอ คือมีคาว แต่ไหว้เจ้าแม่ ต้องไหว้อาหารเจ
– ขนมโก๋ มีหลายชนิดเช่น ขนมโก๋ขาว คนจีนเรียก “แป๊ะกอ” แป๊ะ แปลว่า สีขาว กอ คือขนม ก็มีอีกหลายแบบ ทั้งแบบ แผ่นกลม ใหญ่แบน ๆ ปั๊มทำลายนูนสวยงาม มีทั้งแบบกลมเล็ก ๆ ที่มีทั้งแบมีไส้และไม่มีไส้ แล้วยังมี ทำแบบ แท่งสี่เหลี่ยม มีไส้ก็มี ไม่มีไส้ก็มี , โก๋เหลือง หรือโก๋ถั่ว มีไส้ที่นิยม เช่น ไส้ทุเรียน ไส้งาดำ, โก๋เช้ง น่าสนใจที่สุด เพราะคนไทยไม่ค่อยรู้จัก นิยมทำเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขนาดเท่าขนมโก๋ขาว เป็น แผ่นกลมแบนสีเหลืองตุ๋น ๆ เพราะผสมน้ำส้มเช้ง และบางเจ้า มีใส่เม็ดกวยจี๊ ที่แกะเปลือกแล้วด้วย เวลาเคี้ยวโดนจะกรุบกรับอร่อยดี และขนมโก๋อ่อน หรือหล่ากอ ก็ทานอร่อย เหนียว ๆ ยืด ๆ หนืด ๆ นิ่ม ๆ มีสอดไส่ถั่วบดหวานมันอร่อย ไส้งาดำก็มี
– ผลไม้ อะไรก็ได้เหมือนปกติ และเพิ่มพิเศษ ส้มโอใหญ่ๆ สวยๆ
– เครื่องดื่ม ใช้ชาน้ำหรือชาใบ หรือมีทั้งสองแบบ
– กระดาษเงิน ค้อซี, กอจี๊
– กระดาษเงิน-ทองพิเศษ
1. เนี้ยเก็ง หรือวังเจ้าแม่กวนอิม
2. โป๊ยเซียนตี่เอี๊ย คือ กระดาษ เงินกระดาษทองลายโป๊ยเซียน
3. กระดาษเงินกระดาษทองแบบจัดทำพิเศษสวยวาม เช่น กิมก่อง คือ โคมคู่. สัปปะรด. อ้วงมึ้ง หรือผ้าม่าน, เนี้ยเพ้า คือ ชุดเจ้าแม่พระจันทร์ ถ้าไหว้เจ้าแม่พระ จันทร์ หรือกวนอิมเนี้ยเพ้า ถ้าคิดว่าการไหว้ของเราเป็นการไหว้เจ้าแม่กวนอิม
– ของไหว้พิเศษอื่นๆ สบู่ แชมพู ยาสีฟัน แป้ง เครื่องสำอาง ผ้าเช็ดหน้า อะไรก็ได้ที่เราใช้ประจำ เครื่องประดับ และ อ้อยลำยาวๆ ตัดจากราก และ เอายอดด้วยผูกไว้ ที่ด้านหน้าโต๊ะไหว้ ยึดกับขาโต๊ะ แล้วทำขึ้นไปเป็นซุ้มประตู แล้วตกแต่งสวยงาม พร้อมดอกไม้ ใส่แจกันประดับโต๊ะไหว้
– จำนวนธูปไหว้ 3 ดอก หรือ บางบ้านใช้ธูปไหว้พิเศษ เป็นธูปมังกรดอกใหญ่ดอกเดียว หรือ ดอกย่อมๆ 3 ดอก เช่นเดียวกับ เทียนแดงคู่
– เวลาไหว้ ไหว้หัวค่ำ บางบ้านขอบไหว้สาย เพื่อคอยเวลาให้พระจันทร์เต็มดวง
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.